ย้อนภาพประวัติศาสตร์ นินเทนโดยุคฟามิคอม

First Post Last Post  
defjam 14 ตุลาคม 2553 , 01:38:58
ยุคทองของนินเทนโดในอดีตนั้น อาจกล่าวได้ว่าอยู่ในช่วงที่เกมดังแห่งอาณาจักรเห็ด “ซูเปอร์ มาริโอ บราเธอร์3”บนเครื่องฟามิคอมออกมาวางจำหน่าย บุคคลที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกมซีรีส์นี้ฮิตถล่มทลายอีกครั้ง คงหนีไม่พ้น 2 นักออกแบบเกม “ชิเงรุ มิยาโมโตะ” และ “ทากาชิ เทซุกะ” วันนี้เราลองมาย้อนดูหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาอันหอมหวานของ ความสำเร็จในชื่อ “The Stars of Famicom Games”เขียนขึ้นโดย “ไออิจิ มุราตะ”วางจำหน่ายในปี 1989 หรือ 1 ปีหลังเกมมาริโอ 3 ลงตลาดในญี่ปุ่น




ชิเงรุ มิยาโมโตะสมัยอายุ 37 ปี (เทียบกับภาพปัจจุบัน)

ภาพที่ถูกตีพิมพ์ลงบนหนังสือ มิยาโมโตะมีอายุ 37 ปี บนโต๊ะทำงานของเขามีทั้งหนังสือการ์ตูน ตุ๊กตาเจ้าหญิงพีชที่ซื้อมาจากอเมริกา เบาะรองนั่งเป็นลายซูเปอร์ มาริโอ มิยาโมโตะใส่เน็คไทมิกกี้ เมาส์ สวมถุงเท้าเหลือง และพบว่าในช่วงนั้นยังสูบบุหรี่เสียด้วย

มิยาโมโตะให้ สัมภาษณ์ว่า การเล่นวิดีโอเกมอาจจะมองดูง่าย แต่การทำเกมมันไม่หมูอย่างที่คิด ดังนั้น การทำให้ไอเดียไม่ตัน ทีมงานก็ต้องดูหนัง,ไปพิพิธภัณฑ์,ฟังเพลง,เต้นรำ ,เล่นเกมอื่นๆ หรืออ่านหนังสือเพื่อตามหาแรงบันดาลใจที่หลบซ่อนอยู่ออกมาให้ได้ สิ่งหนึ่งที่วิตกกังวลในการทำเกมมาริโอก็คือ ฉากต่างๆพวกทะเล ท้องฟ้าในเกมจะเข้าท่าไหม แม้แต่การมุดท่อก็ยังต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวัง ความรู้สึกน่าเบื่อเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของเขา นั่นก็เป็นเหตุที่ให้ต้องทำให้ผู้เล่นเกิดความน่าสนใจตลอดทั้งเกม

เพื่อน ร่วมทีมคนสำคัญผู้ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้กำกับและนักออกแบบเกม “ทากาชิ เทซุกะ” หรือ Ten Ten ช่วงนั้นมีอายุ 27 ปี ก่อนเข้ามาร่วมงานกับนินเทนโด เขายอมรับว่าไม่รู้เรื่องวิดีโอเกมเลยสักนิด โดยเกมมาริโอ3ใช้เวลาพัฒนากันประมาณ 2 ปี เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่คิดชื่อตัวละครสำคัญของมาริโอ ยกตัวอย่างเช่น เต่า"Koopa" มีที่มาที่ไปจากตอนที่เขาหิว จึงนำคำว่า"gukbap"ภาชนะใส่อาหารชนิดหนึ่งของชาวเกาหลีมาประยุกต์ใช้ ขณะที่เจ้า "Goomba" หรือที่คนญี่ปุ่นรู้จักกันในชื่อ “คุริโบะ”นั้นก็มาจากตอนที่เขาวาดเห็ดที่มีลักษณะคล้ายกับเมล็ดเกาลัด

ด้าน นักแต่งเพลงเกม “โคจิ คนโดะ” ก็เป็นอีกคนที่สร้างซาวด์ดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์ให้กับซีรีส์มาริโอ สมัยนั้นเขามีอายุ 27 ปี เส้นผมดกดำและดูดีกว่าในปัจจุบันเยอะทีเดียว นอกจากนี้ก็มีภาพของ“โทชิฮิโกะ นากาโงะ” หรือNakazoo หัวหน้าทีมโปรแกรมเมอร์ที่เขียนโค้ดให้ตัวละครเกมในมาริโอโดดเด้งไปมาได้

ภาพ ประวัติศาสตร์อื่นๆที่ถูกจารึกไว้ก็เป็นพวกภาพการผลิตแผ่นวงจรเครื่องฟา มิคอมPrinted Circuit Board (PCB),การตรวจสอบคุณภาพตลับเกมมาริโอ3บนฟามิคอมและ NES (ตลับที่วางขายในอเมริกา),การผลิตแผ่นดิสก์ของเครื่องFamily Computer Disk System รวมไปถึงภาพเครื่องจักรและการขนส่งสินค้าจากโรงงานในอุจิ กรุงเกียวโตไปสู่ร้านจำหน่าย ปัจจุบันนินเทนโดย้ายฐานการผลิตไปอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่




ทากาชิ เทซุกะ




โคจิ คนโดะ




โปรแกรมเมอร์ โทชิฮิโกะ นากาโงะ พร้อมลูกทีม




บนโต๊ะทำงาน ของปรมาจารย์เกมแห่งนินเทนโด




มิยาโมโตะ เดินไปเยี่ยมที่โต๊ะของทากาชิ เทซุกะ




แผ่นวงจรของเครื่อง ฟามิคอม ช่วงท้ายของแผ่นปริ๊นต์มีสลอตสีน้ำเงินเอาไว้เสียบตลับเกม สมัยนั้นใช้แว่นขยายส่องดูความเรียบร้อยกันด้วย




ประกอบส่วน ต่างๆของเครื่องเกมเข้าด้วยกัน




เช็คคุณภาพ ตลับเกมก่อนจำหน่าย




ตลับเครื่อง NES ที่ขายในต่างแดน




แผ่นดิสก์ ที่ใช้กับเครื่อง Family Computer Disk System










credit manager game